top of page

อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม

D E S I G N   f o r   S O C I A L   I M P A C T S

พลาสติกสีดำ อาหาร และสายไฟ

อันตรายจากพลาสติกสีดำ และประโยชน์ที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งไม่มีอะไรเทียบได้



ในกระบวนการรีไซเคิลขยะของหลายประเทศ พลาสติกสีดำมักถูกแยกออกจากกระบวนการนำกลับมาหลอมใช้ใหม่ เนื่องจากพลาสติกสีดำส่วนใหญ่มักเป็นผลผลิตจากการนำพลาสติก 'สีอื่นๆ' มาหลอมเป็นพลาสติกใช้ซ้ำ เมื่อถูกนำมาวนรีไซเคิลใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก สีของพลาสติกที่ได้จึงถูกปรุงแต่งมากขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายเป็น 'สีดำ'


พลาสติกสีดำยังมีความเสี่ยงสูงที่จะเจือปนด้วยสารตะกั่วและโบรมีน สารทั้งสองชนิดนี้ต่างเป็นอันตรายต่อผิวหนังและสุขภาพ ไม่เหมาะแก่การสัมผัสและการนำเข้าปาก (ยกเว้นว่าเป็นพลาสติกสีดำที่ได้รับการรับรองว่าเป็นเกรดที่ใช้สำหรับเป็นภาชนะบรรจุอาหารได้) ด้วยเหตุนี้การนำพลาสติกสีดำมาใช้ประโยชน์ซ้ำจึงแทบเป็นไปไม่ได้


การออกแบบเพื่อไม่ให้สูญเปล่า

Alvin Orbaek White นักวิจัยจาก Energy Safety Research Institute ใน Swansea University สหราชอาณาจักร จึงนำพลาสติกสีดำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต 'สายไฟ' โดยการปรับสภาพคาร์บอนในพลาสติกให้กลายเป็นแท่งคาร์บอนขนาดนาโน (carbon nanotubes) (https://www.mdpi.com/2311-5629/5/2/32)


ผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของคาร์บอนในพลาสติกสีดำทำให้ได้คุณสมบัติใหม่ในการนำไฟฟ้า ในขณะที่ยังได้คุณสมบัติที่เป็นข้อได้เปรียบมากกว่าสายไฟโลหะในปัจจุบัน เนื่องจากสายไฟจากคาร์บอนมีน้ำหนักเบามากและบางกว่ามาก เป็นการเปิดประตูการใช้ประโยชน์จากพลาสติกสีดำได้ต่อโดยไม่ต้องทิ้งไปอย่างสูญเปล่า


SolidSprout

ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม

bottom of page