top of page

อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม

D E S I G N   f o r   S O C I A L   I M P A C T S

ให้ผู้หญิงปัสสาวะอย่างเท่าเทียม

อะไรคือทางออกของความเท่าเทียมทางเพศ และการเข้าห้องน้ำของผู้หญิงในที่สาธารณะควรเป็นอย่างไร?



.นักออกแบบคู่หู Gina Périer และ Alexander Egebjerg พัฒนาห้องน้ำสาธารณะแบบเคลื่อนที่สำหรับผู้หญิงเพื่อแก้ปัญหาการต่อคิวเข้าห้องน้ำที่มักยาวมากเกินไป และเพื่อให้การเข้าห้องน้ำของผู้หญิงมี 'ความปลอดภัย' มากยิ่งขึ้น (?)


บทความนี้ของเราอาจมีเครื่องหมายคำถาม (?) มากสักหน่อย เพราะอยากชวนคุยว่าทางออกของปัญหาห้องน้ำสาธารณะแบบเคลื่อนที่สำหรับผู้หญิงแท้จริงแล้วควรเป็นอย่างไร เนื่องจากเมื่อเราพูดถึงการปัสสาวะ คงไม่ใช่แค่การถ่ายเอาของเหลวออกจากร่างกาย แต่กิจกรรมนี้เป็นช่วงเวลาที่ละเอียดอ่อนเพราะข้องเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม


การออกแบบวิธีการใช้ชีวิตแบบใหม่

ผลงานออกแบบชิ้นนี้มีชื่อว่า 'Lapee' (https://www.lapee.dk/) เป็นโครงสร้างพลาสติกสีชมพูหวานแหววที่ขดกันเป็นเกลียวเพื่อเปิดช่องว่างตรงกลางให้ผู้หญิงสามารถเดินเข้าไปปัสสาวะได้ โดยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นแบบห้องน้ำสาธารณะเคลื่อนที่รองรับไว้อย่างครบครัน ห้องน้ำรูปแบบใหม่นี้ไม่มีประตู และไม่ได้ปิดมิดชิดแบบที่เราคุ้นเคย แต่เปิดโล่งมากเพียงพอที่จะมองเห็นได้ว่ามีคนอยู่ในห้องน้ำหรือไม่ แต่ก็ปิดบังมากพอที่จะไม่สามารถมองเห็นส่วนด้านล่างของคนที่เข้าห้องน้ำ


การเข้าห้องน้ำชนิดใหม่นี้จะทำให้ผู้หญิงใช้เวลาน้อยลง เพราะไม่ต้องเปิด-ปิดประตู และรูปแบบการปัสสาวะก็ทำได้ด้วยการย่อตัวแบบกึ่งยืนกึ่งนั่ง ด้วยรูปแบบของโถแบบใหม่ทำให้ผู้หญิงไม่ต้องนั่งสัมผัสกับโถโดยตรง ซึ่งช่วยลดความกังวลเรื่องความสะอาดและในขณะเดียวกันก็ทำให้กิจกรรมการปัสสาวะของผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับวิธีการที่ผู้ชายปัสสาวะมากขึ้น เป็นการลดทั้งระยะเวลาการปัสสาวะ ช่วยแก้ปัญหาการรอต่อคิวเข้าห้องน้ำตามงานอีเวนท์ต่างๆ ซึ่งผู้หญิงมักต้องรอนานกว่าผู้ชาย และยังเป็นการสื่อสารถึงการที่ผู้หญิงควรจะสามารถใช้ชีวิตในทุกกิจกรรมประจำวันได้แบบที่ผู้ชายทำได้ด้วย เป็นการปลดแอกการกดทับสิทธิบนเนื้อตัวที่สังคมมักปลูกฝังกับผู้หญิงว่าต้องรักนวลสงวนตัวและท้าทายต่อความเชื่อที่ว่าร่างกายของผู้หญิงเป็นสิ่งที่ต้องปกปิดมิดชิดตลอดเวลา


SolidSprout

ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม

bottom of page