ความเท่าเทียมทางเพศจะมีจริงได้อย่างไร หากร่างกายของผู้หญิงยังถูกบังคับให้ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์
สิทธิในการกระทำสิ่งใดๆ กับร่างกายของตนเอง รวมถึงการเลือกสวมใส่เสื้อผ้าหรือเปิดเผยร่างกายของตนเองควรเป็นสิทธิที่ทุกคนควรมี ในหลายประเทศให้สิทธิของผู้หญิงและผู้ชายในเรื่องนี้อย่างเท่าเทียมกัน แต่ดูเหมือนจะไม่ใช่สำหรับสังคมออนไลน์
ในสื่อสากลอย่างเฟซบุ๊คและอินสตาแกรม การเปิดเผยร่างกายท่อนบนถูกจำกัดให้สามารถทำได้กับผู้ชายเท่านั้น เพราะเราจะเห็นภาพผู้ชายถอดเสื้อได้ปกติ ในขณะที่ภาพผู้หญิงเปลือยท่อนบนจะถูกลบทิ้งจากระบบในทันทีที่ถูกตรวจพบ
การออกแบบเพื่อกระตุ้นให้ใส่ใจต่อสิทธิ
Spencer Tunick ศิลปินผู้ชื่นชอบการสื่อสารศิลปะแนวนู๊ดชวนให้ผู้คนได้กลับมาใส่ใจต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้หญิงข้อนี้ด้วยการแสดงงานศิลปะแนวติดตั้ง (installation art) ด้วยความร่วมมือของหนุ่มสาวหลากเชื้อชาติจำนวน 125 คนในการประท้วงที่หน้าสำนักงานใหญ่ของเฟซบุ๊คและอินสตาแกรมในนิวยอร์ก
การแสดงออกครั้งนี้เป็นแคมเปญของพันธมิตรแห่งชาติเพื่อการต่อต้านการเซ็นเซอร์ (National Coalition Against Cencorship หรือ NCAC) ที่ชื่อว่า #wethenipple โดยให้ผู้เข้าร่วมทั้งหมดเปลือยกายและปกปิดร่างกายด้วยสติ๊กเกอร์ที่พิมพ์ภาพหัวนมของผู้ชาย ภาพถ่ายจากการประท้วงครั้งนี้ได้นำไปโพสต์ลงในเฟซบุ๊คและอินสตาแกรมเพื่อสะท้อนประเด็นปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศในกฎข้อบังคับต่างๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์
SolidSprout
ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม
Comments