สล็อธ แม้จะเชื่องช้า แต่ความช้าก็เป็นประโยชน์
นักศึกษาจาก Georgia Institute of Technology สร้างหุ่นยนต์ต้นแบบหน้าตามเหมือนตัวสล็อธ (sloth) ที่เชื่องช้าแต่ก็ใช้ประโยชน์จากความอ้อยอิ่งในการดูแลสวนและไร่นาได้อย่างดี
การออกแบบหุ่นยนต์(เกือบ)อมตะ
:: ประเด็นปัญหา ::
การดูแลพืชผลทางการเกษตรในบางครั้งจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบสภาวะของสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา วิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือการใช้โดรน (drone) หรืออุปกรณ์บินขนาดเล็กเพื่อตรวจสภาพของพื้นที่ แต่วิธีการนี้ก็ใช้พลังงานมาก มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง ต้องมีการเก็บและปล่อยโดรนตามเวลา และต้องอาศัยแรงงานของคนที่มีทักษะเชี่ยวชาญในการใช้งาน
:: การจัดการ ::
Gennaro Notomista (https://www.gnotomista.com) นักศึกษาปริญญาเอกจากห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์และระบบปัญญาประดิษฐ์ (Robotics and InTelligent Systems) ของ Georgia Institute of Technology แก้ปัญหาทั้งหมดที่ว่านี้ด้วยการทำให้หุ่นยนต์ไม่ต้องถูกควบคุมโดยมนุษย์ ตัดปัญหาการสิ้นเปลืองพลังงานจากการบินตลอดเวลาด้วยการปรับให้หุ่นยนต์เป็น ‘สล็อธ’ ซึ่งจะเคลื่อนที่เฉพาะในเวลาที่ต้องตรวจจับสภาพสิ่งแวดล้อมเท่านั้น และจะรักษาระดับกิจกรรมที่ทำตามปริมาณพลังงานที่หลงเหลือในตนเอง หุ่นยนต์นี้จะส่งข้อมูลจากทางไกลเข้าสู่ศูนย์ปฏิบัติการกลาง และสามารถชาร์จพลังงานให้ตัวเองได้ด้วยแสงอาทิตย์ จนแทบจะอาศัยอยู่ในพื้นที่สวนไร่นาได้ตลอดเวลาตลอดไปโดยไม่ต้องการการบำรุงรักษาทียุ่งยากอีกเลย
SolidSprout
ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม
Comments