top of page

อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม

D E S I G N   f o r   S O C I A L   I M P A C T S

ไฮเปอร์ลูปปักเสาแรกแล้วที่อินเดีย

การเดินทางอย่างรวดเร็วด้วยไฮเปอร์ลูปกำลังจะถูกสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกแล้ว โดยเริ่มที่อินเดีย



ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) เทคโนโลยีการเดินทางและขนส่งด้วยความเร็วเหนือเสียงที่จะนำผู้คนเข้าไปนั่งอยู่ในแคปซูลที่ลอยตัวอยู่ในสภาพสูญญากาศ และผลักให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูงโดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้า นับเป็นเทคโนโลยีล่าสุดของการขนส่งของโลกที่เอาชนะการขนส่งด้วยระบบรางทั้งหมดที่เคยมีด้วยความเร็วและความประหยัดพลังงาน


เทคโนโลยีนี้ถูกพูดถึงมาอย่างยาวนานและถูกตั้งเป้าหมายที่จะนำมาใช้งานในหลายประเทศ จนในวันนี้อินเดียได้แสดงความตกลงที่อาจให้บริษัท Virgin Hyperloop One ได้นำเทคโนโลยีนี้มาก่อสร้างขึ้นจริงแล้วโดยจะเชื่อมต่อเมืองมุมไบ (Mumbai) กับเมืองพูเน (Pune) ทำให้อินเดียจะกลายเป็นประเทศแรกของโลกที่ได้ใช้เทคโนโลยีการขนส่งแบบไฮเปอร์ลูป ( https://hyperloop-one.com/india-advances-worlds-first-passenger-hyperloop-system )


การออกแบบความเจริญด้วยการเดินทาง

วิธีการเดินทางของมนุษย์เป็นตัวชี้วัดและเป็นโอกาสในการสร้างความเจริญให้แก่ชุมชนและเมืองตลอดมา ตั้งแต่ยุคที่มีการสร้างเรือซึ่งทำให้เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างทวีป การสร้างทางรถไฟซึ่งทำให้มนุษย์สามารถขนส่งเทคโนโลยีและกระจายอำนาจไปสู่ดินแดนที่ห่างไกล รวมไปถึงเครื่องบินแบบประหยัดซึ่งทำให้ความแตกต่างระหว่างคนจนกับคนรวยเริ่มลดน้อยถอยลง และไฮเปอร์ลูปในอนาคตอาจกลายเป็นรูปแบบการเดินทางที่ทำให้โลกทางธุรกิจและการค้าหมุนไวขึ้นมากกว่าเดิม


ปัจจุบันมีหลายเส้นทางที่กำลังอยู่ในระหว่างการหารือเพื่อสร้างไฮเปอร์ลูป ได้แก่ เส้นทางเชื่อมระหว่างดูไบ (Dubai) กับอาบูดาบี (Abu Dhabi) เส้นทางเชื่อมระหว่างวอชิงตันดีซี (Washington DC) กับนิวยอร์ก (New York) และเส้นทางเชื่อมเม็กซิโกซิตี้ (Mexico City) กับกัวดาลาจารา (Guadalajara) แต่ก็ต้องยกตำแหน่งความไวและความเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจให้แก่อินเดีย ซึ่งทำให้ไฮเปอร์ลูปกำลังจะเกิดขึ้นจริงที่อินเดียเป็นแห่งแรกของโลก การสร้างไฮเปอร์ลูประหว่างเมืองมุมไบและเมืองพูเนเป็นระยะทาง 100 ไมล์ (160 กิโลเมตร) ซึ่งปกติต้องใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ราว 3.5 ชั่วโมง จะย่นเวลาลงเหลือเพียงประมาณ 0.5 ชั่วโมง (35 นาที) ทำให้อินเดียกลายเป็นเป็นหมุดหมายแรกที่จะทำให้เทคโนโลยีนี้ถูกนำไปใช้ต่อในวงกว้างในอนาคต


SolidSprout

ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม

bottom of page