top of page

อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม

D E S I G N   f o r   S O C I A L   I M P A C T S

หุ่นยนต์สาหร่าย เคลื่อนด้วยฟองอากาศจากการสังเคราะห์แสง

นักวิจัยจาก University of the West of England ตีพิมพ์ผลสำเร็จในการใช้สาหร่ายชนิด ‘marimo’ เป็นกลไกการเคลื่อนตัวอัตโนมัติของหุ่นยนต์ สาหร่ายชนิดนี้โดยปกติจะเติบโตอยู่ในทะเลสาป มีลักษณะเป็นทรงกลมเนื่องจากถูกพัดพาโดยกระแสคลื่นน้ำแบบเบาๆ อย่างช้าๆ



ระบบการเคลื่อนตัวโดยใช้สาหร่ายนี้มีชื่อย่อว่า MARS ซึ่งมาจาก ‘Marimo Actuated Rover System’ เกิดจากการบรรจุสาหร่าย marimo ลงไปในลูกบอลทรงกลมใสซึ่งมีโครงสร้างแบบแผ่นแทรกอยู่ภายใน เมื่อสาหร่ายชนิดนี้เกิดกระบวนการสังเคราะห์แสงขึ้นในธรรมชาติจะมีการปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาซึ่งโดยปกติจะหลุดลอยออกสู่ชั้นบรรยากาศ แต่ด้วยโครงสร้างแบบแผ่นที่แทรกอยู่ภายในลูกบอลกลมใสนี้ทำให้ฟองอากาศถูกกักเก็บไว้ และเมื่อมีการสังเคราะห์แสงมากเพียงพอลูกบอลจึงสามารถลอยขึ้นและหมุนตัวได้เพื่อให้หุ่นยนต์เคลื่อนตัวผ่านสิ่งกีดขวาง


การออกแบบหุ่นยนต์ที่ใช้กลไกฟองอากาศจากสาหร่ายในการเคลื่อนตัวนี้แม้จะมีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาการทำงานที่เชื่องช้า แต่อาจมีความเหมาะสมต่อระบบเครื่องจักรบางชนิดที่ใช้งานใต้พื้นน้ำ เช่น การเก็บตัวอย่างแหล่งน้ำ หรือการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ซึ่งมักต้องมีการดำเนินการเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง


อ่านผลงานวิจัยนี้: https://jbioleng.biomedcentral.com/articles/10.1186/s13036-021-00279-0


SolidSprout

ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม

bottom of page