top of page

อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม

D E S I G N   f o r   S O C I A L   I M P A C T S

กระจกใสผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

มากกว่าโซลาร์เซลล์ใสคือกระจกดูดซับพลังงาน



อนาคตของกระจกบุอาคารที่จะสามารถเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า เปลี่ยนกระจกบนสมาร์ทโฟนให้สามารถช่วยชาร์จแบตเตอรี่ และอีกสารพัดการใช้งานกระจกเพื่อผลิตพลังงานสะอาด


การออกแบบโมเลกุลดูดซับพลังงาน

:: ประเด็นปัญหา ::

ในเชิงการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม การบุอาคารด้วยกระจกอาจช่วยให้อาคารดู ‘โมเดิร์น’ หรือมีภาพลักษณ์ที่ดูล้ำสมัย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการใช้จ่ายด้านพลังงานในระยะยาว เพราะกระจกบุอาคารโดยทั่วไปไม่สามารถกันความร้อนได้และทำให้ระบบปรับอุณหภูมิภายในอาคารต้องทำงานหนัก นอกจากนี้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคลต่างๆ ในปัจจุบันก็ยังใช้พลังงานมาก มีช่วงการใช้งานต่อครั้งที่สั้น และไม่สามารถสร้างพลังงานด้วยตัวเอง


:: การจัดการ ::

นักวิจัยจาก UbiQD ( https://ubiqd.com ) พัฒนาเทคโนโลยี ‘Quantum Dots’ ซึ่งมีขนาดเล็กในระดับนาโน โดยมีคุณสมบัติในการดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเรืองแสงออกมาได้ โดยนักวิจัยได้ทดลองนำโมเลกุลของ Quantum Dots บรรจุเคลือบลงไปบนผิวของกระจก พบว่าโมเลกุลเหล่านี้สามารถดูดซับแสงอาทิตย์แล้วส่งต่อขยายพลังงานแสงต่อเนื่องถึงกันไปจนถึงขอบของกระจก จุดเชื่อมต่อสำคัญคือนักวิจัยนำโซลาร์เซลล์มาติดตั้งไว้ที่ขอบของกระจกด้วย ทำให้สามารถรับพลังงานแสงที่รวมกันมาจาก Quantum Dots มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น วิธีการนี้ทำให้แสงอาทิตย์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นกว่าโซลาร์เซลล์แบบใสในปัจจุบันซึ่งมีประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ (light utilization efficiency) อยู่ที่เพียง 2-3% ให้กลายเป็น 8.1% นับเป็นก้าวสำคัญของเทคโนโลยีที่จะช่วยให้กระจกใสกับโซลาร์เซลล์กลายเป็นคู่หูที่ไปด้วยกันได้และคุ้มค่ากับการนำมาใช้งานจริงมากขึ้น

SolidSprout

ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม

Comments


bottom of page