top of page

อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม

D E S I G N   f o r   S O C I A L   I M P A C T S

หน้ากากดาร์ธเวเดอร์กระเป๋าหลุยส์

จุดสมดุลของการใช้ทรัพยากรควรทำด้วยวิธีไหน



หน้ากากการ์ธเวเอร์ (Darth Vader) ที่ทำจากกระเป๋าหลุยส์วิตตอง (Louis Vuitton) ชิ้นนี้เป็นผลงานของ Gabriel Dishaw ( https://www.gabrieldishaw.com ) จุดชนวนการตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ด้วยกระบวนการ ‘Upcycling’


การออกแบบการนำไปใช้ในรูปแบบใหม่

เราอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับ 3Rs หรือกระบวนการ 3 รูปแบบในการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย Reduce (ลดหรือเลิกการใช้) Reuse (นำมาใช้ซ้ำ) และ Recycle (นำไปผ่านกระบวนการเปลี่ยนเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตใหม่) แต่มีอีกคำหนึ่งคือ Upcycle ซึ่งหลายคนอาจไม่ค่อยรู้จัก แต่รับรองว่าสิ่งนี้เป็นกระบวนการที่เราต่างคุ้นเคยกันดี


Upcycle เป็นกระบวนการนำสิ่งของมาถอดส่วนประกอบหรือปรับเปลี่ยนรูปร่างเพื่อให้มีการใช้งานในรูปแบบใหม่ เราอาจเคยเห็นการนำหลอดดูดมาทำเป็นหมอน การนำฝาขวดน้ำมาทำเป็นโคมไฟ การนำกระป๋องเก่ามาทำเป็นที่ใส่ปากกา ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการแปรรูปสิ่งของตามแนวคิด Upcycle ทั้งสิ้น


หน้ากากดาร์ธเวเดอร์จากกระเป๋าหลุยส์ครั้งนี้ก็อยู่ภายใต้กรอบของ Upcycle เช่นกัน แต่ด้วยความที่ผลิตจากกระเป๋าหลุยส์นี้เองทำให้เกิดการถกความคิด ว่าผลิตภัณฑ์ทุกชนิดนั้นเหมาะสมที่จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการ Upcycle หรือไม่ เหตุผลหนึ่งคือเรื่องคุณค่าของผลิตภัณฑ์ดั้งเดิม และอีกส่วนหนึ่งคือปัญหาในเรื่องการกำจัด (หากมีการนำชิ้นส่วนมาประกอบเข้ากับวัสดุชนิดอื่นมากๆ จะทำให้การแยกวัสดุเพื่อกำจัดนั้นทำได้ยากขึ้น) ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการตกค้างของวัสดุในธรรมชาติ และจะก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไปอีกหรือไม่ แต่ถึงอย่างนั้น หน้ากากหลุยส์ชิ้นนี้ก็มีผู้สนใจและถูกประมูลเพื่อนำไปสะสมต่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


SolidSprout

ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคม

bottom of page